rss
Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

รั้วต้นไม้ คริสติน่า

หากเรามีบ้านแน่นอนว่าใครๆก็อยากจะมีพื้นที่ให้สีเขียวของต้นไม้เป็นที่พักผ่อนสายตาและอารมณ์ แต่ด้วยเนื้อที่ที่จำกัดอย่างบ้านจัดสรรในโครงการซึ่งมีพื้นที่ให้ไม่มาก ทำให้บางครั้งเราไม่อยากมองไปเพราะมันเห็นบ้านตรงข้าม

ลักษณะใบ พุ่ม ต้นคริสติน่า


ทางเดียวที่จะแก้ก็คือทำรั้ว เพื่อเป็นจุดเบรคสายตาไม่ให้มองไปแล้วรู้สึกว่ามองบ้านตรงข้าม แน่นอนว่าการทำรั้วใช้ทุนต้องเสียเงินอีก แต่ถ้าหากว่าเราปลูกต้นไม้เป็นรั้วหละ เราจะได้ทั้งที่พักสายตาทั้งรั้วต้นไม้ที่ดูอ่อนโยนไปพร้อมๆกันเชียวนะ...

ที่พูดแบบนี้ก็เพราะว่าบ้านจัดสรรตามโครงการต่างๆนั้นจะมีรั้วเหล็กให้อยู่แล้วซึ่งความสูงของรั้วก็จะไม่เกินหัวคนหรือประมาณ 150 เซนติเมตร ซึ่งมันก็ยังสูงไม่พอที่จะเป็นรั้วบ้านให้เราได้รู้สึกส่วนตัวได้ ผมเห็นบ้านในโครงการก็มักจะต่อเติมทำง่ายๆด้วยการซื้อไม้ระแนงมาตัดแล้วก็แปะ แต่ผมว่าถ้ามันยังไม่บังหน้าเรามันก็ยังไม่พออยู่ดีนะ

เพราะถ้าหากว่าเราอยากจะนั่งเล่นอยู่ในสวนเล็กๆของเราโดยที่ไม่ต้องกังวลอะไรเลย รั้วนั้นก็ต้องสูงอย่างน้อยเกินหัวเราขึ้นไป ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องต่อเติมโครงของรั้วให้สูงขึ้นเพื่อที่จะแปะไม้ทำเป็นรั้วให้สูงขึ้นได้

สำหรับผมแล้วจริงๆก็อยากทำนะแต่รู้สึกอีกอย่างนึงคือ ถ้าหากเราทำสูงขึ้นแล้วรั้วที่เป็นรั้วร่วมของข้างบ้านเรามันก็ต้องทำด้วย นั่นก็จะเป็นปํญหาตามมา เพราะเคยได้ยินว่าถ้ารั้วบ้านสูงต่ำไม่เท่ากันจะทำให้เงินทองรั่วไหล และยากจน

เมื่อทุกอย่างเป็นอย่างนี้ทางที่ง่ายที่สุดก็คือปลูกต้นไม้ทำเป็นรั้วดีที่สุด เราต้องการสูงเท่าไหร่ก็ใส่ปุ๋ยแล้วก็ตัดแต่งเอาตามชอบใจต้นไม้บางอย่างรอไม่นานก็สูงได้ตามต้องการแล้ว บางครั้งซื้อมาก็สูงเท่าหัวเราแล้วถ้ามีทุนหน่อย หรือบางท่านไม่ชอบรอก็ซื้อต้นที่สูงตามต้องการมาลงเลยก็ได้ครับไม่ว่ากัน

ต้นไม้ที่จะใช้ผมแนะนำให้ใช้ต้นคริสติน่าครับ เพราะอะไร เพราะว่ามันมีสีสันสวยงามเวลาแตกใบใหม่ทุกครั้งจะเป็นสีแดงเมื่อใบเริ่มแก่ขึ้นเรื่อยๆก็จะเป็นชมพู ส้ม เหลืองเขียวอ่อน เขียว ไล่แบบนี้ไปเรื่อยๆ พอใบแก่หมดก็จะแตกยอดใหม่มีสีแดงใหม่เป็นแบบนี้ให้เราเห็นตลอดเวลา อีกทั้งใบของคริสติน่าก็ไม่แข็งกระด้างเกินไปเหมือนไทรต่างๆ ที่สำคัญพิสูจน์แล้วว่ารากของต้นริสติน่านั้นไม่แข็งไม่เยอะเหมือนกับต้นไม้ที่ใช้ทำรั้วตะกูลไทรต่างๆ

พูดถึงลำต้นของคริสติน่าก็น่าสนใจ เพราะว่าลำต้นของคริสติน่าพัฒนาและอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง สูงขึ้นตรงได้เอง ไม่จำเป็นต้องช่วยค้ำลำต้นเท่าไหร่ ไม่เหมือนกับโมกที่หากต้องการให้สูงขึ้นจะต้องคอยมัดกิ่งและมีไม้ไผ่ช่วยค้ำให้กิ่งโมกสูงและตรงขึ้นไป

ส่วนไทรเกาหลีผมไม่แนะนำเพราะว่าจากประสบการณ์ไทรเกาหลีนั้นใบหนาแน่นจริง แต่อ่อนไหวกับเรื่องน้ำมาก หากรดน้ำมากไปไทรเกาหลีจะทิ้งใบจนเกือบหมดต้น เรียกว่าต้องกวาดใบหรือเก็บใบทิ้งเยอะมาก และรากของไทรนั้นโตเร็ว ใหญ่ และเเข็ง ซึ่งสวนของเราพื้นที่เล็ก ไทรเกาหลีนั้นเหมาะกับสวนใหญ่ๆซะมากกว่า

ว่ากันด้วยเรื่องสำคัญที่สุดคือ ศัตรูพืช ผมแนะนำให้ซื้อยาฉีดเก็บไว้เลยครับยังไงก็ต้องใช้ เพราะใบคริสติน่าหอมและอ่อนน่ากินมากสำหรับพวกแมลงและศัตรูพืชทั้งหลาย ไทรเกาหลีก็โดนบ่อยจะเป็นพวกเพลี๊ย แต่ที่ไม่เคยเห็นว่าโดนเพลี๊ยหรือมีศัตรูพืชทำลายได้เลยก็ต้องยกให้โมกครับ ไม่เคยฉีดยาให้เลย

สรุปแล้ว
-โมก ปลูกง่ายไม่มีโรค ต้องการน้ำมากไม่ลั้นใบร่วง ต้องการการดูแลลำต้นเมื่อต้องการให้สูง ใบสวยปานกลาง
-ไทรต่างๆ ปลูกง่าย รากใหญ่ มีโรค ต้องการน้ำพอเหมาะ ใบสวยปานกลาง
-คริสติน่า ปลูกง่าย มีโรค ใบต้องการการดูแลมาก รากไม่ใหญ่ ใบสวยมากตื่นตา คุ้มค่าในการดูแล

นี่เล่าจากประสบการณ์ตรงของผมเลยครับสวนผมมี โมก ไทรเกาหลี คริสติน่า ตอนแรกเอาไทรเกาหลีทำรั้วหน้าบ้านพลางตา แต่รู้สึกว่ามันดูกระด้างไม่เหมาะกับพื้นที่เล็กๆเท่าไหร่ เลยย้ายออกแล้วตอนนี้เอาคริสติน่าความสูงประมาณ 50 เซนลงไปเเทนครับ เพราะสวนผมมีคริสติน่าสูงเลยหัวอยู่ต้นนึงสวยมาก ส่วนต้น 50 เซนนี้ก็เป็นต้นที่อยู่ในสวนนี่แหละครับแต่คอยคุมยอดไว้ ขุดเข้าขุดออกก็เลยมาเล่าได้ครับว่ารากมันต่างกันมาก ความสวยกับความน่าสนใจก็อย่างที่บอกไปเลยครับเรื่องจริงล้วนๆ


วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

หญ้ามาเลเซียกับดินเหนียว

หญ้ามาเลนั้นขึ้นชื่อได้ว่าเป็นหญ้าที่ทนน้ำ ชอบความชื้นสูง แดดปานกลาง บางครั้งบางทีหลายคนเอาไปปลูกในร่มเลยก็มี ผมก็ไม่รู้นะครับว่าสุดท้ายแล้วหญ้าที่อยู่ในร่มนั้นเป็นอย่างไร เเต่เชื่อว่าการปลูกในร่มขนาดนั้นยังไงหญ้าก็ไม่โตและก็ตายในที่สุดแน่นอนครับ




ดินเหนียวถือว่ามีข้อดีและข้อเสียค่อนข้างจะสุดขั้วกันเลยทีเดียว  ถ้าหากว่าเรามาลองนั่งพิจารณาดูดีดี เพราะว่าดินเหนียวถ้าเราเลี้ยงน้ำดีดีก็จะเป็นดินที่เหมาะกับพืชที่ต้องการความชื้นสูง แต่ว่าถ้าเราเลี้ยงน้ำให้ดินชนิดนี้ไม่ดีพอความมชื้นภายในดินหมดไปจะทำให้ดินแข็งมาก

พอดีตอนนี้ผมขุดดินเพื่อทำบ่อปลา เลยเอากองไว้หลังบ้าน ดินที่ขุดขึ้นมาเป็นดินเหนียวแท้ๆ ก็กะว่าจะปลูกหญ้ามาเลแบบขยายพันธุ์ คือการปักชำหญ้ามาเล ดังที่ผมได้เคยบอกไปแล้วในเรื่องการปักชำหญ้ามาเล ซึ่งข้อสำคัญที่จะทำให้ลำต้นที่ปักชำนั้นเป็นมากที่สุดก็คือ การเลี้ยงน้ำ

ในระยะ 7 วันแรก การเลี้ยงน้ำสำคัญมากๆ ต้องให้ดินเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา อย่าให้ดินเเข็งเด็ดขาด เพราะดินที่ว่านี้เป็นดินเหนียวถ้าหากว่าปล่อยให้แห้งจนแข็งแล้ว การรดน้ำเพื่อทำให้ดินชื้นในครั้งต่อไปจะทำได้ยาก เพราะน้ำจะไม่ซึมลงในดินแต่จะไหลผ่านไปมากกว่า นอกจากจะใช้การรดน้ำแบบสปริงเกอร์เข้าช่วยก็ทำได้

การติดของกิ่งที่ปักจะอยู่กับ 2 ปัจจัยคือ ความชื้นกับแดด ความชื้นนี้ให้แบบสม่ำเสมอถึงเปียกก็ได้ แต่แสงแดดนั้นน้อยๆจะดีกว่า เพราะถ้าหากให้แดดเต็มๆ มีโอกาสที่ต้นที่ชำจะเสียน้ำและดินแห้งเร็วทำให้กิ่งที่ปักไม่ติดได้ ทางออกเรื่องแสงแดดก็ใช้สแลนสีดำไม่ต้องเอาถึง 80 เปอร์เซ้นก็ได้ เอาสัก 75 เปอร์เซ็นแล้วคุมน้ำความชื้นที่ดินให้เปียกตลอดเวลาเป็นดี

แล้วจะเอารูปตอนที่หญ้าเต็มมาให้ดูกันครับ